วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การสอนเด็กบกพร่องทางการได้ยิน

 การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยิน       เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้น โดยทั่วไปเชื่อว่า มีชีวิตที่เสียเปรียบมากในสังคมที่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับภาษาและการสื่อสาร เด็กจะมีปัญหาทางภาษาและการพูดมากเนื่องจากสภาพการได้ยินมีความบกพร่อง การแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กจะใช้พฤติกรรมทางกายเป็นสื่อแสดงออกมา การเรียน การปรับตัว การสังคม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะด้อยกว่าเด็กปกติ เนื่องจากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการสื่อสารได้เหมือนคนอื่น เด็กที่พัฒนาการทางภาษาช้า แต่ความสามารถทางสติปัญญาเท่าเด็กปกติทุกอย่าง เพียงแต่มีข้อจัดทางภาษาจึงทำให้ดูเหมือนว่า เด็กด้อยกว่าเด็กอื่นๆ ทั่วไป การปรับตัวแตกต่างไปจากเด็กปกติ บางครั้งดูโดดเดี่ยว เหงาหงอย ดังนั้นในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยินควรมีลักษณะของหลักสูตรและการสอน ที่สามารถใช้ร่วมกับหลักสูตรของเด็กปกติได้ แต่ต้องมีการปรับในเรื่องของจุดประสงค์และการวัดผลประเมินผล สำหรับการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่ว่าจะเป็นประเภทหูตึง หรือหูหนวกก็ตาม จำเป็นต้องสอนให้มีโอกาสฝึกพูด เด็กทุกคนต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูด ดังนั้นในการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินควรครอบคลุมการฝึกฝนเด็กในด้านต่าง ๆ คือ

       1. การฝึกฟัง (Auditory Training) เป็นวิธีการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินให้รู้จักฟังโดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ
              1.1 ให้รู้จักเสียงที่ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไรก็ตามรวมทั้งเสียงที่เป็นการพูดในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของเด็ก
              1.2 ให้แยกเสียงทีคละกันในสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งควรฝึกเมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบ
              1.3 ให้แยกเสียงพูดได้ว่า เป็นเสียงเช่นไร หรือเสียงใคร
       2. การฝึกอ่านคำพูด (Speech reading) เป็นการฝึกอ่านริมฝีปาก หรือการเคลื่อนไหวริมฝีปากของผู้พูดเพื่อให้เข้าใจความหมายตรงกัน
       3. ภาษามือและการสะกดนิ้วมือ (Sign Language and Fingerspelling) เป็นวิธีดั่งเดิมที่เริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน ภาษามือมีข้อดีคือสามารถสื่อความหมายได้รวดเร็วและเป็นที่เข้าใจของคนหูหนวกได้โดยสะดวก
       4. การสื่อสารระบบรวม และท่าแนะคำพูด (Total Communication and Cued Speech) การสอนคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในปัจจุบัน ไม่ได้เน้นการฝึกฟัง หรือภาษามืออย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนในอดีต แต่พยายามจะใช้หลายๆ ระบบรวมกัน

การช่วยเหลือเด้กบกพร่องทางการได้ยินในชั้นเรียนปกติ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในกชั้นเรียนรวมนั้นจะมีความบกพร่องทางการได้ยินซึ่งขัดอยู่ในกลุ่มหูตึง ดังนั้นการให้การช่วยเหลือเพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถเรียนรู้และประสบความสำเร็จในการเรียนรวมควรปฏิบัติดังนี้
       1. จัดให้เด็กนั่งในบริเวณที่จะรับฟังการสอนของครูได้ชัดเจน
       2. พยายามลดการรบกวนทางด้านเสียง และด้านการเห็นให้เหลือน้อยที่สุด
       3. พยายามพูดให้เป็นปกติ และเป็นธรรมชาติ
       4. ต้องแน่ใจว่านักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินมองเห็นหน้า
       5. พยายามหาทางให้เด็กได้พูดบ่อย ๆ เนื่องจากเด็กพยายามไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
       6. พยายามเรียกเด็กให้ตอบคำถาม หรือพูด เพื่อทดสอบความเข้าใจของเด็กเป็นรายบุคคล
       7. ต้องให้กำลังใจเด็กในการถามคำถาม ถ้าจะอธิบายซ้ำต้องอธิบายใหม่โดยใช้คำพูดที่แตกต่างออกไปจากการถามครั้งแรก จะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ดีขึ้น
       8. ใช้สื่ออุปกรณ์ในการสอนให้มาก ในการสรุปบทเรียนนั้นครูต้องเขียนกระดานดำสรุปบทเรียนให้เด็กได้อ่านและบันทึกไว้


ขอบคุณที่มา : http://www.nrru.ac.th/

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8 สิงหาคม 2562 เวลา 21:16

    เขียนภาษาไทยให้ถูกๆหน่อยนะครับ

    ตอบลบ