วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  หมายถึง  บุคคลที่บกพร่องหรือสูญเสียทางการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆ ได้ ไม่ชัดเจน ตั้งแต่ระดับรุนแรงถึงระดับน้อย  อาจแบ่งได้เป็น  ประเภท คือ เด็กหูหนวก และเด็กหูตึง 
                 - เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจ หรือใช้ภาษาพูดได้ หากไม่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ และถ้าวัดระดับการได้ยินที่ 500 - 2000  จะมีการพูดตอบสนองของหูข้างที่ดีกว่าต่อเสียงบริสุทธิ์ตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
                 -
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินจนไม่สามารถเข้าใจคำพูดและการสนทนาซึ่งจำแนกตามเกณฑ์การพิจารณา อัตราการของหูของสมาคมโสต ศอ นาสิก  แพทย์แห่งประเทศไทยโดยใช้ค่าเฉลี่ยการได้ยินที่ความถี่ 500, 1000 และ 2000 ในหูข้างที่ดีกว่า เด็กหูตึงอาจแบ่งตามระดับการได้ยินได้ 4 กลุ่ม คือ
          1. เด็กหูตึงระดับที่ 1 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 26 - 40 dB            
          2. เด็กหูตึงระดับที่ 2 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41 - 55 dB            
          3. เด็กหูตึงระดับที่ 3 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56 - 70 dB            
          4. เด็กหูตึงระดับที่ 4 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71 - 90 dB   
เด็กหูตึงระดับที่ 1 ( 26-40 dB )  ตึงเล็กน้อย   จะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ  เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติในห้องเรียนธรรมดาได้หากมีที่นั่งเรียนที่สามารถมองเห็นครูและเพื่อนได้ดีหากมีเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์มาก
เด็กหูตึงระดับที่ 2 ( 41-55 dB ) ตึงปานกลาง จะมีปัญหาในการฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติที่มีระยะห่าง 3 - 5 ฟุต   และไม่เห็นหน้าผู้พูดดังนั้นเมื่อพูดคุยด้วยเสียงธรรมดาก็จะไม่ได้ยินหรือได้ยินไม่ชัดจับใจความไม่ได้นอกจากนี้มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่นพูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยนพูดเสียงเบาหรือเสียงผิดปกติ
เด็กหูตึงระดับที่ 3 ( 56-70 dB ) ตึงมากมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูดเมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่  ก็ยังไม่ได้ยินมีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน  เช่น  เสียงในห้องประชุม มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าเด็กปกติ  พูดไม่ชัด  เสียงเพี้ยนบางคนไม่พูด
เด็กหูตึงระดับที่ 4 ( 71 - 90 dB ) ตึงรุนแรงเป็นกลุ่มเด็กหูตึงระดับรุนแรงจึงมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมากเด็กจะสามารถได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะทาง 1 ฟุต ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง จึงจะได้ยินเด็กกลุ่มนี้แม้จะใช้เครื่องช่วยฟังก็๋มีปัญหาในการแยกเสียงอาจแยกเสียงสระได้   แต่แยกเสียงพยัญชนะได้ยากมักพูดไม่ชัด และมีความผิดปกติ บางคนไม่พูด
เด็กหูตึงที่พบในโรงเรียนปกติโดยที่ทางโรงเรียนรับเข้าไปโดยไม่ทราบปัญหานั้นมักเป็นเด็กหูตึงในระดับที่ 1 หรืออย่างมากก็ระดับที่ 2 สำหรับเด็กหูตึงในระดับที่ 3 และระดับที่ 4นั้น  มีไม่มากนักในระดับประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ยกเว้นในกรณีที่หูตึงภายหลัง  คือ สูญเสียการได้ยินขณะอยู่ในโรงเรียน สำหรับในระดับปฐมวัยนั้น โอกาสที่จะพบนั้นเป็นไปได้ทั้ง 4 กลุ่ม
 ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้   
                      1.ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด หรือเสียงดนตรี
                      2.
มักพูดด้วยเสียงต่ำ ระดับเดียวกันตลอด
                      3.
มักพูดเสียงเบา หรือดังเกินความจำเป็น
                      4.
พูดไม่ชัด
                      5.
เวลาฟังมักจะมองปาก หรือจ้องหน้าผู้พูดตลอดเวลา
                      6.
มีประวัติเป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง
                      7.
ให้ความสนใจต่อการสั่นสะเทือน
                      8.
พูดตาม หรือเลียนแบบเสียงพูดไม่ได้
                      9.
ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียก หากมองไม่เห็นผู้พูด
  
ความต้องการพิเศษ
    บุคคลกลุ่มนี้ หากไม่มีความพิการซ้อนด้านอื่นแทรกด้วย จะสามารถเรียนรู้ได้เท่ากับ หรือใกล้เคียงกับคนทั่วไป  เพียงแต่ต้องช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ หรือบริการอื่นๆ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เท่านั้น

                   
การบริการอื่นๆ     
                       - สอนพูด/แก้ไขการพูด
                      -
สอนเสริม
                       - 
ล่ามภาษามือ ฯลฯ
              
                   
วัสดุอุปกรณ      
                     - เครื่องช่วยฟัง เฉพาะตัว
                     -
เครื่องช่วยฟัง แบบเป็นกลุ่ม
                     - 
เครื่องขยายเสียง คอมพิวเตอร์ และโปรแกรม
                     -
เครื่องสอนพูด
                     - 
ป้ายอักษรอิเลคทรอนิกส์ ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น