วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยิน

สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยิน

     บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยิน ตั้งแต่ระดับรุนแรงจนถึง ระดับน้อย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือคนหูหนวก หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยิน ตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไป อาจเป็นผู้ที่สูญเสียการได้ยินมาแต่กำเนิดหรือเป็นการสูญเสียการได้ยินในภายหลัง คนหูตึง หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยิน ระหว่าง 26 - 90 เดซิเบล เป็นการสูญเสียการได้ยินระดับตึงเล็กน้อยไปจนถึงระดับตึงรุนแรง
สาเหตุของการบกพร่องทางการได้ยิน    

ความบกพร่องทางการได้ยินอาจเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญได้แก่
1.หูหนวกก่อนคลอด (Condential Deafiness) หมายถึง ทารกที่จะเกิดมานั้นมีความพิการของอวัยวะรับเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เมื่อคลอดออกมาแล้ว ก็ปรากฏอาการหูหนวกแต่แรกเกิดเดียว ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น
2 ประเภท คือ 
    1.1 หูหนวกตามกรรมพันธุ์ (Hereditary Deafness) เป็นอาการหูหนวกของทารกที่มีความพิการสืบพันธุ์ จากบิดาหรือมารดาหรือบรรพบุรุษ เช่น พ่อแม่หูหนวก ลูกอาจหูหนวก หรือหลานอาจหูหนวก 
    1.2 หูหนวกที่ไม่ใช่กรรมพันธุ์ (Sporadic Deafness) มีหลายสาเหตุ คือ 
         
1.2.1 หูหนวกจากอันตรายต่อทารก เช่น ขณะมารดาตั้งครรภ์บังเอิญหกล้มถูกกระทบกระแทกอย่างแรง ทารกที่อยู่ในครรภ์ และกำลังเจริญเติบโต อาจถูกบีบ ถูกกด หรือถูกกระแทก หรือเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่สะดวก ทำให้อวัยวะการได้ยินพิการได้ เมื่อทารกคลอดออกมาก็มีอาการหูหนวกแต่กำเนิดติดออกมาด้วย
         1.2.2 หูหนวกจากการคลอด คือศีรษะถูกบีบขณะคลอด เนื่องจากกระดูกเชิงกรานเล็ก หรือคีมจับศีรษะทารกไม่ถูกที่เป็นต้น
         1.2.3 หูหนวกจากการเติบโตของอวัยวะหูผิดปกติ ทารกที่เกิดมาอาจไม่มีใบหู ไม่มีรูหูข้างเดียวหรือ 2 ข้าง เมื่อมีความพิการเกิดขึ้นกับอวัยวะหูส่วนใดส่วนหนึ่ง ทำให้หูหนวกได้เหมือนกัน
         1.2.4 หูหนวกจากพิษยาต่อมารดาขณะตั้งครรภ์ ระหว่างที่มารดาตั้งครรภ์อาจเจ็บป่วย และจำเป็นต้องใช้ยาบางอย่างรักษา ยานั้นอาจเป็นพิษต่ออวัยวะหูของทารกในครรภ์ได้ เช่น คาควินิน ยาแอสไพริน ยาสเตร็ปโตมัยซิน และยาเพนนิซิลิน เป็นต้น หญิงมีครรภ์ควรระมัดระวังในการใช้ยาให้มากที่สุดเพราะยาสามารถซึมผ่านรก ไปยังทารกในครรภ์ได้โดยง่าย อันตรายที่ร้ายแรงมากในหญิงมีครรภ์ การรับประทานยาที่มีผลทำให้ทารกในครรภ์พิการ โดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และใกล้คลอด                          

         1.2.5 หูหนวกจากโรคติดต่อขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน ทารกที่ได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้จากมารดาขณะที่อยู่ในครรภ์ ใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจมีผลทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายในหลายระบบ ได้แก่ความผิดปกติที่หัวใจ หลอดเลือด ที่ตา คือเกิดต้อกระจกโดยกำเนิด ร่างกาย และศรีษะของทารกเล็กกว่าปกติ สมองไม่เจริญเติบโต หรือหูหนวกได้
2. หูหนวกหลังคลอด (Acquired Deafness) หมายถึงทารกที่เกิดมีอวัยวะและประสาทหูปกติ แต่ต่อมาภายหลังปรากฏว่าหูหนวกขึ้น เราเรียกหูหนวกหลังคลอด โอกาสที่จะทำให้หูหนวกจึงมีมากมายหลายอย่าง สามารถแยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้ คือ                
    2.1 หูหนวกจากโรคระบบประสาท เช่น ป่วยเป็นโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ
    2.2 หูหนวกจากโรคติดต่อ เช่น ภายหลังจากการป่วยด้วยโรคหัวใจ ไข้หวัดใหญ่ คางทูม หัดเยอรมัน อาจมีอาการหูหนวกได้
    2.3 หูหนวกร่วมกับโรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมพิตูอิตารี่ มีอาการหูหนวกร่วมด้วย
    2.4 หูหนวกจากพิษยา และสารเคมี เมื่อผู้ป่วยได้รับยาที่เป็นพิษต่ออวัยวะหูส่วนใน และประสาทหูเช่น ควินิน ยาสเตร็ปโตมัยซิน และยาคานามัยซิน เป็นต้น
    2.5 หูหนวกจากโรคหู คอ จมูก อวัยวะของหู คอ จมูก ติดต่อถึงกัน และอยู่ใกล้เคียงกันมาก เมื่ออวัยวะดังกล่าวเกิดโรค มักกระทบกระเทือนถึงกันและกัน จะทำให้หูหนวกได้
    2.6 หูหนวกจากภยันตรายต่ออวัยวะหู และประสาทหู เช่น การตกเปล ตกบันได ตกจากที่สูง นอกจากศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนแล้ว กระดูกขมับแตกร้าว หรือถูกตบที่หูอย่างแรง ทำให้หูหนวกได้
    
นอกจากนี้เสียงดังต่างๆ เช่น เสียงฟ้าผ่า เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงเครื่องบิน ฯลฯ ถ้าหากได้รับการรบกวนอยู่เสมอ และเป็นเวลานาน จะทำให้หูพิการได้
    เมื่อเด็กมีอาการหูหนวก แล้วอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ หลายอย่างด้วยกัน เช่น ปัญหาด้านภาษา อารมณ์ และสังคม ตลอดจนบุคลิกภาพของเด็ก บุคคลผู้ใกล้ชิด ควรเข้าใจถึงปัญหาของเด็กหูหนวกเพื่อที่จะได้ช่วยเหลือแก้ไขให้ถูกทางได้ คือ

        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาทางภาษามาก เพราะขาดการสื่อความหมายด้านภาษาพูด ต้องใช้มือแทนภาษาพูด เวลาพูดเสียงจะเพี้ยน ทำให้ติดต่อกับบุคคลอื่นได้น้อย คนหูหนวกมักเขียนหนังสือผิดเขียนกลับคำ รู้คำศัพท์น้อย การใช้ภาษาเขียนผิดพลาด
        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านอารมณ์ เพราะสาเหตุของภาษาทำให้การสื่อความทำความเข้าใจเป็นไปได้ยากลำบาก ถ้าหากไปอยู่ในสังคมที่ไม่เป็นที่ยอมรับแล้ว ก็ย่อมเพิ่มปัญหามากขึ้น ทำให้เด็กสุขภาพจิตเสื่อม มีปมด้อย ทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจ ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ได้ เช่นโกรธง่าย เอาแต่ใจตัวเอง ขี้ระแวง ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีความหนักแน่นอดทนต่อการทำงาน หนีงานหนัก เป็นต้น
        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านครอบครัว หากครอบครัวของเด็กหูหนวกไม่ยอมรับ เด็กขาดความรัก ความเข้าใจ ขาดความอบอุ่นทางใจ มีความทุกข์เพราะความน้อยเนื้อต่ำใจ แล้วย่อมก่อให้เกิดปัญหาฝังรากลึกจิตใจของเด็กมาก เพราะจะระบายกับใครก็ไม่ได้เนื่องจากความบกพร่องการสื่อความหมายทางการพูด
        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านสังคม ถ้าหากอยู่ในสังคมที่ไม่ยอมรับ รู้เทาไม่ถึงการณ์ ขาดความเข้าใจ มักถูกกลั่นแกล้ง ล้อเลียน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กหูหนวกเกิดความคับข้องใจ น้อยเนื้อต่ำใจ และบางครั้งอาจตกเป็นเครื่องมือของพวกมิจฉาชีพ กลายเป็นอาชญากรบางรายก็ถูกล่อลวงให้ค้าประเวณี ติดยาเสพติด และนักการพนัน เป็นต้น
        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านความืด เพราะเด็กหูหนวกจะใช้ตาแทนการฟังเสียงต่างๆ ถ้าขาดแสงสว่างก็ขาดการมองเห็น จะไม่สามารถสื่อความหมายได้ 
        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านการประกอบอาชีพ บุคคลที่หูหนวกจะเสียสิทธิในการประกอบอาชีพไม่เท่าเทียมกับคนปกติ 


     หูเป็นอวัยวะที่บอบบางและมีลักษณะเป็นช่องเปิดจากภายนอกเข้าไป จึงอาจทำให้เป็นโรคหรือเกิดอาการผิดปกติขึ้นในส่วนต่างๆของหูได้ง่าย โรคของหูที่พบได้บ่อยคือ หูน้ำหนวก แก้วหูทะลุ และเชื้อราในช่องหู
     1.หูน้ำหนวก พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งมักจะเป็นหวัดบ่อยๆ
     สาเหตุ โรคนี้ไม่ได้มีสาเหตุจากน้ำเข้าหูตามที่เข้าใจกันแต่เกิดจากเป็นหวัดเรื้อรังแล้วมีเชื้อโรคเล็ดลอดจากบริเวณลำคอผ่านท่อยูสเตเชี่ยนเข้าสู่หูชั้นกลาง โดยเฉพาะการสั่งน้ำมูกแรงๆ ก็ทำให้เชื้อเข้าสูหูชั้นกลางได้
     อาการ หูอื้อ ฟังไม่ค่อยได้ยินและปวดหูมาก เนื่องจากเกิดการอักเสบในหูชั้นกลางแล้วมีหนองขังอยู่ภายใน ถ้าหนองดันทะลุผ่านเยื่อแก้วหูออกมา อาการปวดจึงจะทุเลาลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นหนองไหลออกมาจาก รูหูอยู่เรื่อยๆ กลายเป็นโรคหูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง ซึ่งอาจลุกลามเข้าสมอง เกิดฝีในสมองจนเสียชีวิตได้
     การป้องกันและการรักษา
     1. ควรป้องกันไม่ให้เป็นโรคหวัด และเมื่อเป็นหวัดก็ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ
     2. หากมีอาการของโรคหูน้ำหนวกควรปรึกษาแพทย์
     3. ในกรณีที่แพทย์รักษาจนหนองแห้งแล้ว ควรพยายามไม่ให้น้ำเข้าหู เพราะแก้วหูยังทะลุอยู่ ถ้าน้ำไม่สะอาดเข้าหูชั้นกลาง อาจทำให้เกิดการอีกเสบขึ้นไปอีก
     4. ควรรับการผ่าตัดปะแก้วหูที่ทะลุให้เป็นปกติ

     2. แก้วหูทะลุ
     สาเหตุ เกิดจากการที่แรงอัดสูงๆ ในรูหู เช่น ถูกตบที่ข้างหูหรืออาจเกิดจากการใช้ของแข็ง เช่น กิ๊บติดผมแคะหู ซึ่งอาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด
     อาการ รู้สึกปวดหูในระยะแรก และทำให้หูข้างนั้นได้ยินเสียงไม่ชัดเจน หรือหูอื้อ
     การป้องกันและการรักษา
     1.ไม่ควรใช้ไม้หรือของแข็งอื่นๆ แคะหู
     2.หากมีอาการปวดหู หูอื้อ ควรปรึกษาแพทย์
ที่มา : http://www.psecmahachai.com
     3. เชื้อราในช่องหู     
     สาเหตุ เกิดจากรูหูสกปรกและเปียกชื้น
     อาการ คันมากในรูหู ทำให้อยากแคะหู ถ้าใช้วัตถุแข็งๆ เข้าไปปั่นหรือเกา จะทำให้เกิดการอักเสบลุกลามมากขึ้น
     การป้องกันและการรักษา
     1. ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู
     2. ไม่ควรใช้กิ๊บ ไม้ หรือวัตถุอื่นใดแคะหรือเกาหู เพราะของดังกล่าวอาจสกปรกทำให้มีการติดเชื้อได้
วิธีป้องกันรักษาหูเนื่องจากหูเป็นอวัยวะสำคัญสำหรับการได้ยิน และการรับความรู้สึกในการทรงตัว เราจึงควรระมัดระวังดูแลรักษาหู เพื่อใช้หูอย่างมีประสิทธิภาพไปนานตลอดชีวิตของเรา โดยมีวิธีป้องกันรักษาหูดังนี้
        1) ไม่ควรนำไม้แคะหูหรือสิ่งใด ๆ แคะหูด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นแคะหูให้ เพราะอาจนำเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ช่องหูได้
        2) ถ้ามีแมลงเข้าหู อย่าแคะออก เพราะจะทำให้แมลงเข้าไปในหูลึกยิ่งขึ้น ควรใช้น้ำมันพืชหยอดลงในรูหู ทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้แมลงตาย แล้วเอียงหูให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมแมลง และใช้สำลีเช็ดให้สะอาด
        3) ระวังอย่าให้น้ำเข้าหู ถ้าน้ำเข้าหู หูจะอื้อ ควรใช้น้ำสะอาดกรอกลงไปในรูหูนั้นให้เต็ม แล้วเอียงหูเทน้ำออกพร้อมกับดึงใบหู แล้วใช้สำลีพันปลายไม้ซับน้ำที่เหลือให้แห้ง
        4) ระวังไม่ให้หูได้รับการกระทบกระแทกแรง ๆ เช่น การตบหูด้วยมือทั้ง 2 ข้าง การกระแทกจากแรงลูกบอล เป็นต้นเพราะจะทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้
        5) ไม่เล่นตะโกนหรือทำเสียงดัง ๆ ใส่หูกัน และไม่ฟังเสียงดังใด ๆ เป็นเวลานาน ๆ เช่น ฟังดนตรีดัง ๆ เป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น
        6) หลีกเลี่ยงเสียงดังอึกทึก เช่น เสียงปืน เสียงดนตรีดัง ๆ เสียงเครื่องเจาะ เป็นต้น หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใส่ปลั๊กหู ที่ครอบหู หรือใช้สำลีสะอาดป้องกันเสียงดังอุดหู
        7) การเจาะหูเพื่อใส่ตุ้มหูนั้น ควรเลือกร้านที่ใช้เข็มสะอาดฆ่าเชื่อโรคด้วยแอลกอฮอล์หรือใช้ที่เจาะแบบยิงเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสของโรคเอดส์
        8) หากเป็นหวัดหรือโรคเกี่ยวกับลำคอ ควรรักษาให้หายโดยเร็ว และไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง ๆ ควรใช้ผ้าสะอาดหรือกระดาษนุ่ม ๆ ซับน้ำมูกเบา ๆ
        9) เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับหู เช่น หูอื้อ ปวดหู คันหู มีน้ำหนองไหลออกมาทางหู ควรรีบไปให้แพทย์ตรวจและรักษาโดยเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น