วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน       
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่พอสังเกตได้ มีดังนี             
              1. ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก
              2. มักตะแคงหูฟัง
              3. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
              4. พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ
              5. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
              6. พูดมีเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
              7. พูดด้วยเสียงต่ำ หรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
              8. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
              9. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
              10. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรี หรือมีบ้างเป็นบางครั้ง
              11. ไม่ชอบร้องเพลง ไม่ชอบฟังนิทาน แต่แสดงการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอต่อเสียงดังในระดับที่เด็กได้ยิน
              12. มักทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
              13. ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าใจจากสภาพแวดล้อม
              14. ซน ไม่มีสมาธิ
              15. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้
              16. มีความลำบากในการอ่านหนังสือ
              17. ไม่ตอบคำถาม
              18. อาจมีปัญหาทางอารมณ์และสังคม

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สถาบันฝึกการเรียนรู้สำหรับคนหูหนวก

สถาบันฝึกการเรียนรู้สำหรับคนหูหนวก
  • วิทยาลัยราชสุดา
    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาและจัดการผู้พิการ หลักสูตรปริญญาตรีสำหรับผู้พิการทางกาย หลักสูตรการอบรมและฝึกวิชาชีพระยะสั้น ระดับประกาศนียบัตร สำหรับผู้พิการได้เข้าศึกษาอบรม เพื่อเป็นวิชาชีพ หลักสูตรต่อเนื่อง ปริญญาตรี สาขาโสตสัมผัสวิทยา (Audiology)
    http://www.rs.mahidol.ac.th
  • โรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่น
    ตั้งอยู่เลขที่ 258 ซอย 17 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
    http://www.tjas.ac.th/
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติก
    ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น กิจกรรมการเรียนการสอน บุคลากร ข้อมูลนักศึกษา แนะนำศูนย์ออทิสติกอื่น ๆ และเสนอความรู้เกี่ยวกับเด็กออทิสติก การบำบัดรักษาเด็กออทิสติก
    http://ednet.kku.ac.th/~autistic/
  • สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
    แนะนำสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ข้อมูลผู้บริหาร โครงสร้างสำนักฯ หน้าที่ความรับผิดชอบ แนะนำกลุ่มงานต่าง ๆ และความรู้เกี่ยวกับศึกษาพิเศษ
    http://special.obec.go.th/
  • ศูนย์การศึกษาและฟื้นฟูสมรรถภาพคนตาบอด จังหวัดร้อยเอ็ด
    เป็นข้อมูลแก่ผู้สนใจเรื่องผู้พิการ ให้ทราบ และเข้าใจถึงความเป็นจริงของสังคมมากขึ้น
    http://www.forblind.org/
  • สถาบันเสริม สร้าง แก้ไขเด็ก ออทิสติก REED Institute
    สถาบันเสริม สร้าง แก้ไขเด็กที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม ออทิสติก ด้านพัฒนาการ และในทุก ๆ กลุ่มที่มีความต้องการที่จะรักษา เพื่อให้ดำรงชีวิตด้วยตนเองได้ในอนาคต โดยทีมจากต่างประเทศทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนักจิตวิทยา ครู และ นักฝึกพูด ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และมีการประเมินผล อย่างละเอียด
    http://www.reed-institute.com/
  • โรงเรียนกาวิละอนุกูล
    ตั้งอยู่เลขที่ 2/2 ถนนสันนาลุง ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ : (053)249324 โทรสาร : (053)244770 จัดการเรียนการสอนแก่เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและพิการซ้ำซ้อน สังกัดกองการศึกษาเพื่อคนพิการ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
    http://school.obec.go.th/anukul/INDEX.html
  • การศึกษาพิเศษ
    ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษในประเทศไทยสำหรับเด็กพิการ เช่น เด็กพิการทางสายตา เด็กพิการทางหู หรือหูตึง เด็กพิการทางร่างกายระบบเคลื่อนไหวร่างกาย
    http://se-ed.net/thaieducate/
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดชัยภูมิ
    เป็นสถานศึกษาลักษณะเตรียมความพร้อม ให้บริการกระตุ้นพัฒนาการ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการทั้ง 9 ประเภท ให้บริการแบบไป-กลับ ตั้งอยู่เลขที่ 9 หมู่ 6 ถนนชัยภูมิ-สีคิ้ว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
    http://members.thai.net/psec/chaiyaphum.htm
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดตราด
    ข้อมูลทั่วไปของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด ให้บริการแก่ผู้พิการในจังหวัดตราด เสนอข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์ ข้อมูลพื้นที่บริการ ประวัติความเป็นมาของศูนย์ บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษา อาคารสถานที่ ผลงานของผู้พิการ
    http://school.obec.go.th/pstrat/
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง
    เป็นศูนย์ที่ให้การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทุกประเภท ตั้งแต่แรกพบความพิการ และเป็นศูนย์ประสานงานและส่งต่อผู้พิการในสถานศึกษา
    http://school.obec.go.th/lpcenter
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
    เป็นโรงเรียนสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทุกประเภท ความเป็นมาของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ทำเนียบผู้บริหาร แนะนำบุคลากร ภาพกิจกรรมของศูนย์ และแสดงข้อมูลลำดับขั้นตอนการตรวจรับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และการขอรับเงินอุดหนุน
    http://school.obec.go.th/psec
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุทัยธานี
    ประวัติศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดอุทัยธานี ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลคนพิการในจังหวัด สภาพการดำเนินกงาน กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับจังหวัดอทัยธานี
    http://school.obec.go.th/scuthai/
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4
    ประวัติความเป็นมาของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง รายชื่อคณะกรรมการ ทำเนียบผู้บริหารและบุคลากร กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการ
    http://school.obec.go.th/speced4/
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 5 จังหวัดสุพรรณบุรี
    ศูนย์วิชาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาจัดให้บริการสำหรับผู้พิการทุกประเภท ในพื้นที่เขต การศึกษา 5 ได้แก่ จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ และสุพรรณบุรี
    http://school.obec.go.th/secr5
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดชัยนาท
    ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลชัยนาท อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 17000
    http://school.obec.go.th/psecchainat/
  • โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี
    ตั้งอยู่อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 โทรศัพท์ 035 - 545662 เปิดสอนหลักสูตรตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ปีที่ 6 และ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ถึง ปีที่ 6 มีชนิดกีฬาที่เปิดสอน 17 ชนิดกีฬา ได้แก่กรีฑา เทนนิส ยิมนาสติกสากล ยิงปืน ว่ายน้ำ มวยไทย มวยสากล จักรยาน ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล ยูโด เซปักตะกร้อ ฟุตบอล เบสบอล ซอท์ฟบอล แฮนด์บอล และกอล์ฟ
    http://www.spss.ac.th/
  • โรงเรียนศึกษาพิเศษมุกดาหาร
    ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร 49000 โทรศัพท์ : (042)612237 เป็นโรงเรียนที่รับเด็กพิการทางการได้ยินเข้าเรียนประเภทอยู่กินแบบประจำ โดยเด็กพิการเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 4 ปีขึ้นไป
    http://school.obec.go.th/suksapisetmuk/
  • โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่
    ตั้งอยู่เลขที่ 41 ถนนอารักษ์ ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 0-5327-8009 โทรสาร 0-5381-5137
    http://school.obec.go.th/cmblind
  • โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    ตั้งอยู่เลขที่ 224 ถนนชนเกษม (สุราษฎร์-นาสาร) หมู่ที่ 4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กิโลเมตรที่ 16 โทรศัพท์ : (077)211493, 211494 โทรสาร : (077)211494
    http://school.obec.go.th/sbt/
  • โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ
    โรงเรียนประเภทการศึกษาพิเศษสอนเด็กที่มีความบก พร่องทางการได้ยิน (หูหนวก) สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 55/1 ถนนอาคารสงเคราะห์ สาย 2 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 12120
    http://school.obec.go.th/sotthung
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ จังหวัดมหาสารคาม
    ตั้งอยู่ที่ ถนนมหาสารคาม - วาปีปทุม ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 โทรศัพท์ / โทรสาร 0 4377 7432
    http://school.obec.go.th/psecmk
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล
    แนะนำหน่วยงาน การให้บริการ เว็บบอร์ด ตั้งอยู่ ภายในโรงเรียนสตูลวิทยาตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล 91000 โทรศัพท์/โทรสาร 0-7473-0172
    http://school.obec.go.th/specialsatun
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1 จังหวัดนครปฐม
    ตั้งอยู่ที่ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73210
    http://school.obec.go.th/center_1
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 12
    ให้บริการเตรียมความพร้อม ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทุกประเภท ทั้งภายในและภายนอก ให้บริการแบบประจำ และไป-กลับ ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทั้ง 8 จังหวัด โดยเป็นหน่วยงานประสานงาน และสนับสนุนให้บริการของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก และชลบุรี
    http://www.chontech.ac.th/special12
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี
    ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 จังหวัดลพบุรี ให้บริการบำบัดฟื้นฟู คนพิการทุกประเภท ตั้งแต่ 0 - 19 ปี ในเขตบริการ 7 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ตั้งอยู่ ริมคลองชลประทาน สะพาน 8 ต.ป่าตาล อ.เมือง จ.ลพบุรี 15000 โทร. 0-3642-0030-1
    http://school.obec.go.th/center_6
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 พิษณุโลก
    ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 7 พันธกิจ วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ บุคลากร ภารกิจผู้บริหาร แผนที่ศูนย์ ฯ
    http://school.obec.go.th/secr7
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษเขต 9 จังหวัดขอนแก่น
    ที่ตั้ง 761 ซอยปัญญา ถนนมิตรภาพ ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 โทร. 0-4323-9055 โทรสาร. 0-4323-9073
    http://school.obec.go.th/rseckhonkaen
  • โรงเรียนศึกษาพิเศษเพชรบูรณ์
    ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านโตก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อช่วยเหลือเด็กพิการให้ได้มีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
    http://school.obec.go.th/ssphetchabun
  • โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระราชูปถัมภ์
    โรงเรียนที่เปิดสอนสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ม.6 เป็นโรงเรียนรัฐบาล สังกัดกองการศึกษาเพื่อคนพิการ กระทรวงศึกษาธิการ
    http://www.setsatian.bravehost.com/
    ตั้งอยู่เลขที่ 228 หมู่ 10 ตำบล ดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 56120
    http://school.obec.go.th/phayaospecial/
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง
    ตั้งอยู่เลขที่ 228 หมู่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
    http://school.obec.go.th/centerpl
  • โรงเรียนนครสวรรค์ปัญญานุกูล
    เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษา สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและบกพร่องทางการได้ยินที่ไม่สามารถเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปได้ ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ 8 ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
    http://school.obec.go.th/nakonsawansp
  • โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่
    โรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ จัดการศึกษาเพื่อคนพิการ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่
    http://school.obec.go.th/srisungwan
  • โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดชัยภูมิ
    ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ บ้านเล่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่จำนวน 40 ไร่ ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 7 กิโลเมตร ถนนสายชัยภูมิ – แก้งคร้อ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษา- พิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
    http://school.obec.go.th/sotsuksa
  • โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม
    ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ 4 ตำบลวัดแค อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 73120 โทรศัพท์ : (034)277669 โทรสาร : (034)227670
    http://school.obec.go.th/deaf_np/
  • โรงเรียนอาชีวะพระมหาไถ่ พัทยา
    โรงเรียนสำหรับเด็กพิการ จัดการเรียนการสอนสำหรับคนพิการ และพัฒนาด้านการศึกษา คนพิการ แนะแนวทางการแก้ปัญหาของคนพิการ
    http://www.rvsd.ac.th

การสอนเด็กบกพร่องทางการได้ยิน

 การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยิน       เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้น โดยทั่วไปเชื่อว่า มีชีวิตที่เสียเปรียบมากในสังคมที่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับภาษาและการสื่อสาร เด็กจะมีปัญหาทางภาษาและการพูดมากเนื่องจากสภาพการได้ยินมีความบกพร่อง การแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กจะใช้พฤติกรรมทางกายเป็นสื่อแสดงออกมา การเรียน การปรับตัว การสังคม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะด้อยกว่าเด็กปกติ เนื่องจากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการสื่อสารได้เหมือนคนอื่น เด็กที่พัฒนาการทางภาษาช้า แต่ความสามารถทางสติปัญญาเท่าเด็กปกติทุกอย่าง เพียงแต่มีข้อจัดทางภาษาจึงทำให้ดูเหมือนว่า เด็กด้อยกว่าเด็กอื่นๆ ทั่วไป การปรับตัวแตกต่างไปจากเด็กปกติ บางครั้งดูโดดเดี่ยว เหงาหงอย ดังนั้นในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยินควรมีลักษณะของหลักสูตรและการสอน ที่สามารถใช้ร่วมกับหลักสูตรของเด็กปกติได้ แต่ต้องมีการปรับในเรื่องของจุดประสงค์และการวัดผลประเมินผล สำหรับการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่ว่าจะเป็นประเภทหูตึง หรือหูหนวกก็ตาม จำเป็นต้องสอนให้มีโอกาสฝึกพูด เด็กทุกคนต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูด ดังนั้นในการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินควรครอบคลุมการฝึกฝนเด็กในด้านต่าง ๆ คือ

       1. การฝึกฟัง (Auditory Training) เป็นวิธีการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินให้รู้จักฟังโดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ
              1.1 ให้รู้จักเสียงที่ฟัง ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไรก็ตามรวมทั้งเสียงที่เป็นการพูดในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของเด็ก
              1.2 ให้แยกเสียงทีคละกันในสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งควรฝึกเมื่อเด็กอายุได้ 3 ขวบ
              1.3 ให้แยกเสียงพูดได้ว่า เป็นเสียงเช่นไร หรือเสียงใคร
       2. การฝึกอ่านคำพูด (Speech reading) เป็นการฝึกอ่านริมฝีปาก หรือการเคลื่อนไหวริมฝีปากของผู้พูดเพื่อให้เข้าใจความหมายตรงกัน
       3. ภาษามือและการสะกดนิ้วมือ (Sign Language and Fingerspelling) เป็นวิธีดั่งเดิมที่เริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน ภาษามือมีข้อดีคือสามารถสื่อความหมายได้รวดเร็วและเป็นที่เข้าใจของคนหูหนวกได้โดยสะดวก
       4. การสื่อสารระบบรวม และท่าแนะคำพูด (Total Communication and Cued Speech) การสอนคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในปัจจุบัน ไม่ได้เน้นการฝึกฟัง หรือภาษามืออย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนในอดีต แต่พยายามจะใช้หลายๆ ระบบรวมกัน

การช่วยเหลือเด้กบกพร่องทางการได้ยินในชั้นเรียนปกติ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในกชั้นเรียนรวมนั้นจะมีความบกพร่องทางการได้ยินซึ่งขัดอยู่ในกลุ่มหูตึง ดังนั้นการให้การช่วยเหลือเพื่อให้เด็กเหล่านี้สามารถเรียนรู้และประสบความสำเร็จในการเรียนรวมควรปฏิบัติดังนี้
       1. จัดให้เด็กนั่งในบริเวณที่จะรับฟังการสอนของครูได้ชัดเจน
       2. พยายามลดการรบกวนทางด้านเสียง และด้านการเห็นให้เหลือน้อยที่สุด
       3. พยายามพูดให้เป็นปกติ และเป็นธรรมชาติ
       4. ต้องแน่ใจว่านักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยินมองเห็นหน้า
       5. พยายามหาทางให้เด็กได้พูดบ่อย ๆ เนื่องจากเด็กพยายามไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
       6. พยายามเรียกเด็กให้ตอบคำถาม หรือพูด เพื่อทดสอบความเข้าใจของเด็กเป็นรายบุคคล
       7. ต้องให้กำลังใจเด็กในการถามคำถาม ถ้าจะอธิบายซ้ำต้องอธิบายใหม่โดยใช้คำพูดที่แตกต่างออกไปจากการถามครั้งแรก จะช่วยให้เด็กเข้าใจได้ดีขึ้น
       8. ใช้สื่ออุปกรณ์ในการสอนให้มาก ในการสรุปบทเรียนนั้นครูต้องเขียนกระดานดำสรุปบทเรียนให้เด็กได้อ่านและบันทึกไว้


ขอบคุณที่มา : http://www.nrru.ac.th/

ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  หมายถึง  บุคคลที่บกพร่องหรือสูญเสียทางการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆ ได้ ไม่ชัดเจน ตั้งแต่ระดับรุนแรงถึงระดับน้อย  อาจแบ่งได้เป็น  ประเภท คือ เด็กหูหนวก และเด็กหูตึง 
                 - เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจ หรือใช้ภาษาพูดได้ หากไม่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ และถ้าวัดระดับการได้ยินที่ 500 - 2000  จะมีการพูดตอบสนองของหูข้างที่ดีกว่าต่อเสียงบริสุทธิ์ตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
                 -
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินจนไม่สามารถเข้าใจคำพูดและการสนทนาซึ่งจำแนกตามเกณฑ์การพิจารณา อัตราการของหูของสมาคมโสต ศอ นาสิก  แพทย์แห่งประเทศไทยโดยใช้ค่าเฉลี่ยการได้ยินที่ความถี่ 500, 1000 และ 2000 ในหูข้างที่ดีกว่า เด็กหูตึงอาจแบ่งตามระดับการได้ยินได้ 4 กลุ่ม คือ
          1. เด็กหูตึงระดับที่ 1 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 26 - 40 dB            
          2. เด็กหูตึงระดับที่ 2 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41 - 55 dB            
          3. เด็กหูตึงระดับที่ 3 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56 - 70 dB            
          4. เด็กหูตึงระดับที่ 4 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71 - 90 dB   
เด็กหูตึงระดับที่ 1 ( 26-40 dB )  ตึงเล็กน้อย   จะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ  เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติในห้องเรียนธรรมดาได้หากมีที่นั่งเรียนที่สามารถมองเห็นครูและเพื่อนได้ดีหากมีเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์มาก
เด็กหูตึงระดับที่ 2 ( 41-55 dB ) ตึงปานกลาง จะมีปัญหาในการฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติที่มีระยะห่าง 3 - 5 ฟุต   และไม่เห็นหน้าผู้พูดดังนั้นเมื่อพูดคุยด้วยเสียงธรรมดาก็จะไม่ได้ยินหรือได้ยินไม่ชัดจับใจความไม่ได้นอกจากนี้มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่นพูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยนพูดเสียงเบาหรือเสียงผิดปกติ
เด็กหูตึงระดับที่ 3 ( 56-70 dB ) ตึงมากมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูดเมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่  ก็ยังไม่ได้ยินมีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน  เช่น  เสียงในห้องประชุม มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าเด็กปกติ  พูดไม่ชัด  เสียงเพี้ยนบางคนไม่พูด
เด็กหูตึงระดับที่ 4 ( 71 - 90 dB ) ตึงรุนแรงเป็นกลุ่มเด็กหูตึงระดับรุนแรงจึงมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมากเด็กจะสามารถได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะทาง 1 ฟุต ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง จึงจะได้ยินเด็กกลุ่มนี้แม้จะใช้เครื่องช่วยฟังก็๋มีปัญหาในการแยกเสียงอาจแยกเสียงสระได้   แต่แยกเสียงพยัญชนะได้ยากมักพูดไม่ชัด และมีความผิดปกติ บางคนไม่พูด
เด็กหูตึงที่พบในโรงเรียนปกติโดยที่ทางโรงเรียนรับเข้าไปโดยไม่ทราบปัญหานั้นมักเป็นเด็กหูตึงในระดับที่ 1 หรืออย่างมากก็ระดับที่ 2 สำหรับเด็กหูตึงในระดับที่ 3 และระดับที่ 4นั้น  มีไม่มากนักในระดับประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ยกเว้นในกรณีที่หูตึงภายหลัง  คือ สูญเสียการได้ยินขณะอยู่ในโรงเรียน สำหรับในระดับปฐมวัยนั้น โอกาสที่จะพบนั้นเป็นไปได้ทั้ง 4 กลุ่ม
 ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้   
                      1.ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด หรือเสียงดนตรี
                      2.
มักพูดด้วยเสียงต่ำ ระดับเดียวกันตลอด
                      3.
มักพูดเสียงเบา หรือดังเกินความจำเป็น
                      4.
พูดไม่ชัด
                      5.
เวลาฟังมักจะมองปาก หรือจ้องหน้าผู้พูดตลอดเวลา
                      6.
มีประวัติเป็นโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง
                      7.
ให้ความสนใจต่อการสั่นสะเทือน
                      8.
พูดตาม หรือเลียนแบบเสียงพูดไม่ได้
                      9.
ไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียก หากมองไม่เห็นผู้พูด
  
ความต้องการพิเศษ
    บุคคลกลุ่มนี้ หากไม่มีความพิการซ้อนด้านอื่นแทรกด้วย จะสามารถเรียนรู้ได้เท่ากับ หรือใกล้เคียงกับคนทั่วไป  เพียงแต่ต้องช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ หรือบริการอื่นๆ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เท่านั้น

                   
การบริการอื่นๆ     
                       - สอนพูด/แก้ไขการพูด
                      -
สอนเสริม
                       - 
ล่ามภาษามือ ฯลฯ
              
                   
วัสดุอุปกรณ      
                     - เครื่องช่วยฟัง เฉพาะตัว
                     -
เครื่องช่วยฟัง แบบเป็นกลุ่ม
                     - 
เครื่องขยายเสียง คอมพิวเตอร์ และโปรแกรม
                     -
เครื่องสอนพูด
                     - 
ป้ายอักษรอิเลคทรอนิกส์ ฯลฯ

สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยิน

สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยิน

     บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยิน ตั้งแต่ระดับรุนแรงจนถึง ระดับน้อย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือคนหูหนวก หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยิน ตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไป อาจเป็นผู้ที่สูญเสียการได้ยินมาแต่กำเนิดหรือเป็นการสูญเสียการได้ยินในภายหลัง คนหูตึง หมายถึง คนที่สูญเสียการได้ยิน ระหว่าง 26 - 90 เดซิเบล เป็นการสูญเสียการได้ยินระดับตึงเล็กน้อยไปจนถึงระดับตึงรุนแรง
สาเหตุของการบกพร่องทางการได้ยิน    

ความบกพร่องทางการได้ยินอาจเนื่องมาจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญได้แก่
1.หูหนวกก่อนคลอด (Condential Deafiness) หมายถึง ทารกที่จะเกิดมานั้นมีความพิการของอวัยวะรับเสียงตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เมื่อคลอดออกมาแล้ว ก็ปรากฏอาการหูหนวกแต่แรกเกิดเดียว ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น
2 ประเภท คือ 
    1.1 หูหนวกตามกรรมพันธุ์ (Hereditary Deafness) เป็นอาการหูหนวกของทารกที่มีความพิการสืบพันธุ์ จากบิดาหรือมารดาหรือบรรพบุรุษ เช่น พ่อแม่หูหนวก ลูกอาจหูหนวก หรือหลานอาจหูหนวก 
    1.2 หูหนวกที่ไม่ใช่กรรมพันธุ์ (Sporadic Deafness) มีหลายสาเหตุ คือ 
         
1.2.1 หูหนวกจากอันตรายต่อทารก เช่น ขณะมารดาตั้งครรภ์บังเอิญหกล้มถูกกระทบกระแทกอย่างแรง ทารกที่อยู่ในครรภ์ และกำลังเจริญเติบโต อาจถูกบีบ ถูกกด หรือถูกกระแทก หรือเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่สะดวก ทำให้อวัยวะการได้ยินพิการได้ เมื่อทารกคลอดออกมาก็มีอาการหูหนวกแต่กำเนิดติดออกมาด้วย
         1.2.2 หูหนวกจากการคลอด คือศีรษะถูกบีบขณะคลอด เนื่องจากกระดูกเชิงกรานเล็ก หรือคีมจับศีรษะทารกไม่ถูกที่เป็นต้น
         1.2.3 หูหนวกจากการเติบโตของอวัยวะหูผิดปกติ ทารกที่เกิดมาอาจไม่มีใบหู ไม่มีรูหูข้างเดียวหรือ 2 ข้าง เมื่อมีความพิการเกิดขึ้นกับอวัยวะหูส่วนใดส่วนหนึ่ง ทำให้หูหนวกได้เหมือนกัน
         1.2.4 หูหนวกจากพิษยาต่อมารดาขณะตั้งครรภ์ ระหว่างที่มารดาตั้งครรภ์อาจเจ็บป่วย และจำเป็นต้องใช้ยาบางอย่างรักษา ยานั้นอาจเป็นพิษต่ออวัยวะหูของทารกในครรภ์ได้ เช่น คาควินิน ยาแอสไพริน ยาสเตร็ปโตมัยซิน และยาเพนนิซิลิน เป็นต้น หญิงมีครรภ์ควรระมัดระวังในการใช้ยาให้มากที่สุดเพราะยาสามารถซึมผ่านรก ไปยังทารกในครรภ์ได้โดยง่าย อันตรายที่ร้ายแรงมากในหญิงมีครรภ์ การรับประทานยาที่มีผลทำให้ทารกในครรภ์พิการ โดยเฉพาะระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และใกล้คลอด                          

         1.2.5 หูหนวกจากโรคติดต่อขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน ทารกที่ได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้จากมารดาขณะที่อยู่ในครรภ์ ใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจมีผลทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกายในหลายระบบ ได้แก่ความผิดปกติที่หัวใจ หลอดเลือด ที่ตา คือเกิดต้อกระจกโดยกำเนิด ร่างกาย และศรีษะของทารกเล็กกว่าปกติ สมองไม่เจริญเติบโต หรือหูหนวกได้
2. หูหนวกหลังคลอด (Acquired Deafness) หมายถึงทารกที่เกิดมีอวัยวะและประสาทหูปกติ แต่ต่อมาภายหลังปรากฏว่าหูหนวกขึ้น เราเรียกหูหนวกหลังคลอด โอกาสที่จะทำให้หูหนวกจึงมีมากมายหลายอย่าง สามารถแยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้ คือ                
    2.1 หูหนวกจากโรคระบบประสาท เช่น ป่วยเป็นโรคเยื้อหุ้มสมองอักเสบ
    2.2 หูหนวกจากโรคติดต่อ เช่น ภายหลังจากการป่วยด้วยโรคหัวใจ ไข้หวัดใหญ่ คางทูม หัดเยอรมัน อาจมีอาการหูหนวกได้
    2.3 หูหนวกร่วมกับโรคต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมพิตูอิตารี่ มีอาการหูหนวกร่วมด้วย
    2.4 หูหนวกจากพิษยา และสารเคมี เมื่อผู้ป่วยได้รับยาที่เป็นพิษต่ออวัยวะหูส่วนใน และประสาทหูเช่น ควินิน ยาสเตร็ปโตมัยซิน และยาคานามัยซิน เป็นต้น
    2.5 หูหนวกจากโรคหู คอ จมูก อวัยวะของหู คอ จมูก ติดต่อถึงกัน และอยู่ใกล้เคียงกันมาก เมื่ออวัยวะดังกล่าวเกิดโรค มักกระทบกระเทือนถึงกันและกัน จะทำให้หูหนวกได้
    2.6 หูหนวกจากภยันตรายต่ออวัยวะหู และประสาทหู เช่น การตกเปล ตกบันได ตกจากที่สูง นอกจากศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนแล้ว กระดูกขมับแตกร้าว หรือถูกตบที่หูอย่างแรง ทำให้หูหนวกได้
    
นอกจากนี้เสียงดังต่างๆ เช่น เสียงฟ้าผ่า เสียงระเบิด เสียงปืน เสียงเครื่องบิน ฯลฯ ถ้าหากได้รับการรบกวนอยู่เสมอ และเป็นเวลานาน จะทำให้หูพิการได้
    เมื่อเด็กมีอาการหูหนวก แล้วอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ หลายอย่างด้วยกัน เช่น ปัญหาด้านภาษา อารมณ์ และสังคม ตลอดจนบุคลิกภาพของเด็ก บุคคลผู้ใกล้ชิด ควรเข้าใจถึงปัญหาของเด็กหูหนวกเพื่อที่จะได้ช่วยเหลือแก้ไขให้ถูกทางได้ คือ

        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาทางภาษามาก เพราะขาดการสื่อความหมายด้านภาษาพูด ต้องใช้มือแทนภาษาพูด เวลาพูดเสียงจะเพี้ยน ทำให้ติดต่อกับบุคคลอื่นได้น้อย คนหูหนวกมักเขียนหนังสือผิดเขียนกลับคำ รู้คำศัพท์น้อย การใช้ภาษาเขียนผิดพลาด
        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านอารมณ์ เพราะสาเหตุของภาษาทำให้การสื่อความทำความเข้าใจเป็นไปได้ยากลำบาก ถ้าหากไปอยู่ในสังคมที่ไม่เป็นที่ยอมรับแล้ว ก็ย่อมเพิ่มปัญหามากขึ้น ทำให้เด็กสุขภาพจิตเสื่อม มีปมด้อย ทำให้เด็กเกิดความคับข้องใจ ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ได้ เช่นโกรธง่าย เอาแต่ใจตัวเอง ขี้ระแวง ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีความหนักแน่นอดทนต่อการทำงาน หนีงานหนัก เป็นต้น
        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านครอบครัว หากครอบครัวของเด็กหูหนวกไม่ยอมรับ เด็กขาดความรัก ความเข้าใจ ขาดความอบอุ่นทางใจ มีความทุกข์เพราะความน้อยเนื้อต่ำใจ แล้วย่อมก่อให้เกิดปัญหาฝังรากลึกจิตใจของเด็กมาก เพราะจะระบายกับใครก็ไม่ได้เนื่องจากความบกพร่องการสื่อความหมายทางการพูด
        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านสังคม ถ้าหากอยู่ในสังคมที่ไม่ยอมรับ รู้เทาไม่ถึงการณ์ ขาดความเข้าใจ มักถูกกลั่นแกล้ง ล้อเลียน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กหูหนวกเกิดความคับข้องใจ น้อยเนื้อต่ำใจ และบางครั้งอาจตกเป็นเครื่องมือของพวกมิจฉาชีพ กลายเป็นอาชญากรบางรายก็ถูกล่อลวงให้ค้าประเวณี ติดยาเสพติด และนักการพนัน เป็นต้น
        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านความืด เพราะเด็กหูหนวกจะใช้ตาแทนการฟังเสียงต่างๆ ถ้าขาดแสงสว่างก็ขาดการมองเห็น จะไม่สามารถสื่อความหมายได้ 
        - เด็กหูหนวกจะมีปัญหาด้านการประกอบอาชีพ บุคคลที่หูหนวกจะเสียสิทธิในการประกอบอาชีพไม่เท่าเทียมกับคนปกติ 


     หูเป็นอวัยวะที่บอบบางและมีลักษณะเป็นช่องเปิดจากภายนอกเข้าไป จึงอาจทำให้เป็นโรคหรือเกิดอาการผิดปกติขึ้นในส่วนต่างๆของหูได้ง่าย โรคของหูที่พบได้บ่อยคือ หูน้ำหนวก แก้วหูทะลุ และเชื้อราในช่องหู
     1.หูน้ำหนวก พบได้บ่อยมากโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งมักจะเป็นหวัดบ่อยๆ
     สาเหตุ โรคนี้ไม่ได้มีสาเหตุจากน้ำเข้าหูตามที่เข้าใจกันแต่เกิดจากเป็นหวัดเรื้อรังแล้วมีเชื้อโรคเล็ดลอดจากบริเวณลำคอผ่านท่อยูสเตเชี่ยนเข้าสู่หูชั้นกลาง โดยเฉพาะการสั่งน้ำมูกแรงๆ ก็ทำให้เชื้อเข้าสูหูชั้นกลางได้
     อาการ หูอื้อ ฟังไม่ค่อยได้ยินและปวดหูมาก เนื่องจากเกิดการอักเสบในหูชั้นกลางแล้วมีหนองขังอยู่ภายใน ถ้าหนองดันทะลุผ่านเยื่อแก้วหูออกมา อาการปวดจึงจะทุเลาลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นหนองไหลออกมาจาก รูหูอยู่เรื่อยๆ กลายเป็นโรคหูน้ำหนวกชนิดเรื้อรัง ซึ่งอาจลุกลามเข้าสมอง เกิดฝีในสมองจนเสียชีวิตได้
     การป้องกันและการรักษา
     1. ควรป้องกันไม่ให้เป็นโรคหวัด และเมื่อเป็นหวัดก็ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ
     2. หากมีอาการของโรคหูน้ำหนวกควรปรึกษาแพทย์
     3. ในกรณีที่แพทย์รักษาจนหนองแห้งแล้ว ควรพยายามไม่ให้น้ำเข้าหู เพราะแก้วหูยังทะลุอยู่ ถ้าน้ำไม่สะอาดเข้าหูชั้นกลาง อาจทำให้เกิดการอีกเสบขึ้นไปอีก
     4. ควรรับการผ่าตัดปะแก้วหูที่ทะลุให้เป็นปกติ

     2. แก้วหูทะลุ
     สาเหตุ เกิดจากการที่แรงอัดสูงๆ ในรูหู เช่น ถูกตบที่ข้างหูหรืออาจเกิดจากการใช้ของแข็ง เช่น กิ๊บติดผมแคะหู ซึ่งอาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาด
     อาการ รู้สึกปวดหูในระยะแรก และทำให้หูข้างนั้นได้ยินเสียงไม่ชัดเจน หรือหูอื้อ
     การป้องกันและการรักษา
     1.ไม่ควรใช้ไม้หรือของแข็งอื่นๆ แคะหู
     2.หากมีอาการปวดหู หูอื้อ ควรปรึกษาแพทย์
ที่มา : http://www.psecmahachai.com
     3. เชื้อราในช่องหู     
     สาเหตุ เกิดจากรูหูสกปรกและเปียกชื้น
     อาการ คันมากในรูหู ทำให้อยากแคะหู ถ้าใช้วัตถุแข็งๆ เข้าไปปั่นหรือเกา จะทำให้เกิดการอักเสบลุกลามมากขึ้น
     การป้องกันและการรักษา
     1. ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู
     2. ไม่ควรใช้กิ๊บ ไม้ หรือวัตถุอื่นใดแคะหรือเกาหู เพราะของดังกล่าวอาจสกปรกทำให้มีการติดเชื้อได้
วิธีป้องกันรักษาหูเนื่องจากหูเป็นอวัยวะสำคัญสำหรับการได้ยิน และการรับความรู้สึกในการทรงตัว เราจึงควรระมัดระวังดูแลรักษาหู เพื่อใช้หูอย่างมีประสิทธิภาพไปนานตลอดชีวิตของเรา โดยมีวิธีป้องกันรักษาหูดังนี้
        1) ไม่ควรนำไม้แคะหูหรือสิ่งใด ๆ แคะหูด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นแคะหูให้ เพราะอาจนำเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ช่องหูได้
        2) ถ้ามีแมลงเข้าหู อย่าแคะออก เพราะจะทำให้แมลงเข้าไปในหูลึกยิ่งขึ้น ควรใช้น้ำมันพืชหยอดลงในรูหู ทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้แมลงตาย แล้วเอียงหูให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมแมลง และใช้สำลีเช็ดให้สะอาด
        3) ระวังอย่าให้น้ำเข้าหู ถ้าน้ำเข้าหู หูจะอื้อ ควรใช้น้ำสะอาดกรอกลงไปในรูหูนั้นให้เต็ม แล้วเอียงหูเทน้ำออกพร้อมกับดึงใบหู แล้วใช้สำลีพันปลายไม้ซับน้ำที่เหลือให้แห้ง
        4) ระวังไม่ให้หูได้รับการกระทบกระแทกแรง ๆ เช่น การตบหูด้วยมือทั้ง 2 ข้าง การกระแทกจากแรงลูกบอล เป็นต้นเพราะจะทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้
        5) ไม่เล่นตะโกนหรือทำเสียงดัง ๆ ใส่หูกัน และไม่ฟังเสียงดังใด ๆ เป็นเวลานาน ๆ เช่น ฟังดนตรีดัง ๆ เป็นเวลานาน ๆ เป็นต้น
        6) หลีกเลี่ยงเสียงดังอึกทึก เช่น เสียงปืน เสียงดนตรีดัง ๆ เสียงเครื่องเจาะ เป็นต้น หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใส่ปลั๊กหู ที่ครอบหู หรือใช้สำลีสะอาดป้องกันเสียงดังอุดหู
        7) การเจาะหูเพื่อใส่ตุ้มหูนั้น ควรเลือกร้านที่ใช้เข็มสะอาดฆ่าเชื่อโรคด้วยแอลกอฮอล์หรือใช้ที่เจาะแบบยิงเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสของโรคเอดส์
        8) หากเป็นหวัดหรือโรคเกี่ยวกับลำคอ ควรรักษาให้หายโดยเร็ว และไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง ๆ ควรใช้ผ้าสะอาดหรือกระดาษนุ่ม ๆ ซับน้ำมูกเบา ๆ
        9) เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับหู เช่น หูอื้อ ปวดหู คันหู มีน้ำหนองไหลออกมาทางหู ควรรีบไปให้แพทย์ตรวจและรักษาโดยเร็ว

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สมาชิกใน blog เรา

1.นางสาวนิลาวรรณ  สิงห์งาม                     รหัส    53010509410
2.นางสาวพรสวรรค์   โคตะมะ                      รหัส    53010509009
3.นางสาววลัยพรรณ  กระพันธ์เขียว             รหัส    53010509012
4.นางสาวกนกวรรณ   เหลาคำ                     รหัส    53010509007
5.นายวีรศักดิ์              กรมแสนพิมพ์             รหัส    53010509008
6.นายสุรเดช               ใจจุลละ                     รหัส    53010509010